ประวัติพอสังเขป ดิอิมพอสซิเบิ้ล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดิอิมพอสซิเบิ้ล หรือชื่อเรียกสั้นๆ ว่า ดิอิม เป็นวงดนตรีสตริงคอมโบวงแรกๆ ของไทย ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 มีสมาชิกรุ่นแรกประกอบด้วย วินัย พันธุรักษ์, อนุสรณ์ พัฒนกุล, สุเมธ แมนสรวง และพิชัย ทองเนียม และได้นักร้องนำคือ เศรษฐา ศิระฉายา ใช้ชื่อวงว่า Holiday J-3 ต่อมาเปลี่ยนเป็น จอยท์ รีแอ็กชั่น เล่นดนตรีเพลงสากลที่มีชื่อเสียง เช่น เพลงของคลิฟ ริชาร์ด เอลวิส เพรสลีย์ บางเพลงนำทำนองเพลงต่างประเทศที่เป็นที่นิยม มาแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาไทย เช่นเดียวกับวงอื่นๆ ในยุคเดียวกัน เช่น ซิลเวอร์แซนด์ รอยัล สไปรท์ส เล่นดนตรีตามไนท์คลับต่างๆ
วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เข้าร่วมการประกวดวงสตริงคอมโบ จัดโดยสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้รับรางวัลชนะเลิศ 3 ปีติดต่อกัน [1] ในปี(2512,2513,2515) วงจอยท์ รีแอ็กชั่น เปลี่ยนชื่อเป็น ดิอิมพอสซิเบิ้ล (The Impossibles) ชื่อนี้ตั้งโดยเศรษฐา ตามชื่อภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ จากสหรัฐอเมริกา คือเรื่อง The Impossibles (1966) [2][3]
ช่วงหลังจากชนะเลิศในปีแรก ความนิยมได้พุ่งสูงอย่างมากมาย วงดิอิม ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมแสดงและบรรเลงเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโทน (เพลงเริงรถไฟ ชื่นรัก ปิดเทอม) ของผู้กำกับเปี๊ยก โปสเตอร์ ทำให้ดิอิมได้รับความสำเร็จอย่างท่วมท้น ในขณะเดียวกันก็เกิดความเปลี่ยนแปลง สุเมธ แมนสรวง ได้ลาออกไป และได้สิทธิพร อมรพันธุ์ จากวงฟลาวเวอร์กับ ปราจีน ทรงเผ่า จากวงเวชสวรรค์ ได้เข้าร่วมวงแทน ระยะเวลานั้นดิอิม เล่นประจำอยู่ที่ศูนย์การค้าเพลินจิต แห่งเดียว ส่วนการแสดงตามโรงภาพยนตร์ในรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์ไทย หรือการแสดงในรอบเช้า 6.00 นาฬิกา ร่วมกับการฉายภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในยุคนั้น (ภาพยนตร์ไทยเรื่อง เก๋า..เก๋า พ.ศ. 2549 ได้นำเสนอบรรยากาศของเรื่องการแสดงรอบเช้าของดิอิมด้วย ถึงจะไม่เหมือนไปทุกอย่าง แต่ก็ทำได้ใกล้เคียงและทำให้เห็นบรรยากาศในยุคนั้นได้ดีทีเดียว) ได้รวมถึงการแสดงตามเวทีลีลาศทั้งที่สวนลุมพินี สวนอัมพร ซึ่งมีขึ้นประจำทุกวันศุกร์หรือเสาร์ ช่วงปี 2511-2515 กลายเป็นปีทองของวงดิอิมอย่างแท้จริงราวปี พ.ศ. 2516-2518
ดิอิมพอสซิเบิ้ล มีชื่อเสียง และได้ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ไทยเป็นจำนวนมาก ผลงานแผ่นเสียงขายดีที่สุดในยุคนั้น ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในกลางปี 2515 ดิอิมพอสซิเบิ้ล ได้รับทาบทามให้ไปทำการแสดงที่มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกาใน ครั้งนี้ได้เพิ่มยงยุทธ มีแสง ทรัมเป๊ตจากวงวิชัย อึ้งอัมพร ร่วมวงไปด้วย ตลอดเวลา 1 ปีใน ฮาวาย ดิอิมพอสสิเบิลส์ได้รับความนิยมและความสำเร็จมากมาย เป็นวงดนตรีแรกที่ทำสถิติยอดขายต่อคืนสูงสุดตั้งแต่เปิดทำการของคลับที่ แสดงอยู่ชื่อ ฮาวายเอี้ยนฮัท โรงแรมอลาโมอานา (ที่มีศูนย์การค้าใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้นตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน) ดิอิมซ้อมนักมาก พิชัย ทองเนียม มือเบส ขอลาออก เศรษฐาต้องไปเล่นเบส ทำให้ไม่สะดวกในการร้องนำ จึงทำให้เกิดความคิดที่จะเรียกเรวัติ พุทธินันท์(เต๋อ) นักร้องนำวงเดอะแธ้งค์ ซึ่งเคยเล่นสลับที่อิมพอสสิเบิลส์คาเฟ่มาเป็นนักร้องนำแทนเศรษฐา ช่วงที่เต๋อเข้ามาได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเล่นของการบรรเลง โดยได้เน้นเพลงที่มีเครื่องเป่ามากขึ้น และเป็นเพลงที่เหมาะกับการเต้น เช่นเพลงของวง Tower of Power เป็นต้น ขณะที่แสดงที่นั้นได้มีนักร้องศิลปินดัง ๆ ของโลกมาเปิดการแสดงที่ฮาวาย ทำให้วงดิอิม ได้ใช้ประสบการณ์ในการเข้าชมศิลปินดัง ๆ เหล่านี้มาปรับปรุงการแสดงของวงให้พัฒนาขึ้นตลอดเวลา
ดิอิมหมดสัญญาที่ฮาวายในเดือนสิงหาคม 2516 และได้เดินทางกลับเมืองไทยพร้อมกับผู้จัดการวงใหม่ ชื่อจรัล นันทสุนานนท์(ปัจจุบัน ดร.พุทธจรัล) เพื่อให้มีการจัดการวงในรูปแบบสากลอย่างมีระบบ ต้นเดือนพฤศจิกายน 2516 หลังเหตุการณ์วันมหาวิปโยค ดิอิม ได้เข้าทำการแสดง ณ เดอะเดนไนท์คลับ โรงแรมอินทรา ประตูน้ำเป็นเวลา 6 เดือน และที่เดอะเดนนี้เอง ดิอิม ได้สร้างระบบใหม่ในการเข้าชมของวง โดยมีการเก็บค่าชม ก่อนการเข้าไปในคลับ ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรกของเมืองไทยและวงดนตรีไทย ในช่วงนี้ก็มีความเปลี่ยนแปลงขึ้นอีกครั้ง ได้สมชาย กฤษณเศรณี(ปึ๊ด) มาเล่นเบสแทนเศรษฐา และปรีด์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา(เปี๊ยก)มาเล่นกลองแทนอนุสรณ์ พัฒนกุล ได้ให้เรวัติเป็นนักร้องนำและเล่นออร์แกน เศรษฐาได้กลับไปเป็นนักร้องนำตามเดิม
การเดินทางเริ่มขึ้นอีกครั้งหลังหมดสัญญาที่เดอะเดน วงดิอิมได้รับการติดต่อไปแสดงในประเทศแถบสแกนดิเนียเวีย เริ่มจากสวีเดน ฟินแลนด์ นอร์เวย์ ตั้งแต่เดือน มิถุนายนถึงธันวาคม 2517 จากนั้นกลับเมืองไทย และเปลี่ยนมือเบส ไพฑูรย์ วาทยะกร เข้ามาแทนสมชาย เดือนมิถุนายน ไปยุโรปอีกครั้ง เริ่มที่สวีเดน ฟินแลนด์ ข้ามไปสวิตเซอร์แลนด์ กลับมาสวีเดนอีกและไปจบที่สวิสในเดือนกุมภาพันธ์ 2519 กลับเมืองไทย เล่นที่โรงแรมมณเฑียรเหมือนเดิม
ในปี 2518 ระหว่างการกลับไปตระเวณแสดงในยุโรปครั้งที่ 2 ดิอิมพอสสิเบิ้ล ได้ทำการบันทึกเสียงเพลงสากลเป็นครั้งแรกของวง ในชื่ออัลบั้ม Hot pepper
หลังจากนี้ได้ว่าเกือบเป็นปลายยุคของวง ได้มีการประชุมตกลกที่จะยุบวง หลังจากวงมีอายุรวมกันมาถึง 9 ปี มีการแถลงข่าวยุบวงอย่างเป็นทางการต่อสื่อมวลชนช่วงเดือนเมษายน 2519 หลังจากนั้นได้เดินทางไปเล่นที่โรงแรมมาเจสติค กรุงไทเป ไต้หวัน โดยทำสัญญาเดือนต่อเดือน พอเริ่มทำงานหมดเดือนแรก เรวัติออกไปก่อน และได้เดินทางไปทำงานที่สวีเดน 3 เดือน ในไต้หวันทำงานค่อนข้างหนัก เพราะต้องแสดงทั้งกลางวันและกลางคืน (1 มิถุนายน-4 กันยายน 2519) หลังกลับเมืองไทยดิอิมได้แสดงในช่วงสุดท้ายที่คลับโรงแรมแมนฮัตตัน ทอปเปอร์คลับ ตึกนายเลิศ และที่เดอะฟ๊อกซ์ ชั้นใต้ดินศูนย์การค้าเพลินจิต โดยทำการแสดงคืนละ 3 แห่ง ในราวเดือนตุลาคม 2519 ก็ได้หยุดทำการแสดงอย่างเป็นการถาวรในนาม ดิอิมพอสซิเบิ้ล วงดนตรีที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นตำนานของวงดนตรีสากลแบบสตริงคอมโบ วงดนตรีขวัญใจวัยรุ่นของประเทศไทย
* 1 สรุปผลงาน
o 1.1 อัลบั้มทางการ
o 1.2 ผลงานการแสดงดนตรี
+ 1.2.1 ช่วงปี 2509-2512(ยุคเริ่มต้น)
+ 1.2.2 ช่วงปี 2512-2517(หลังชนะการประกวดสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานปีแรก)
+ 1.2.3 ช่วงปี 2517(ทัวร์ยุโรปครั้งแรก 1974)
+ 1.2.4 ช่วงปี 2518-2519(ทัวร์ยุโรปครั้งแรก 1975-1976)
o 1.3 เพลงประกอบภาพยนตร์
o 1.4 เพลงที่มีชื่อเสียง
* 2 อ้างอิง
* 3 แหล่งข้อมูลอื่น
สรุปผลงาน
อัลบั้มทางการ
* เป็นไปไม่ได้ (2515)
* หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม (2516)
* Hot pepper(2519)
* กลับมาแล้ว (2535)
ผลงานการแสดงดนตรี
(จากการบันทึกของสมาชิกวงพิชัย ทองเนียม และปราจีน ทรงเผ่า หนังสือ รวมบทเพลง The Impossibles)
ช่วงปี 2509-2512(ยุคเริ่มต้น)
* Holiday Carden ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Holiday J-3)
* Wachington Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง Joint Reaction)
* Progress Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)
* Las Vegas Bar ถนนเพชรบุรีตัดใหม่(ชื่อวง The Impossibles)
ช่วงปี 2512-2517(หลังชนะการประกวดสตริงคอมโบชิงถ้วยพระราชทานปีแรก)
* The Fire Cracker Club โรงแรม First ประตูน้ำ
* The impossibles Cafe ศูนย์การค้าประตูน้ำ ปทุมวัน
* ศาลาแดง ฮอลล์ ตรงข้างสวนลุมพินี (สลับกับวงวิชัย อิ้งอัมพร)
* Hawaiian Hut Ala Moana Hotel Honolulu Hawai U.S.A. - การแสดงต่างประเทศครั้งแรก
* The Den โรงแรมอินทรา ประตูน้ำ กรุงเทพฯ
ช่วงปี 2517(ทัวร์ยุโรปครั้งแรก 1974)
* Europa Hotel - Gothenberg Sweden
* Norkipping - Sweden
* Monday Club - Stockholm Sweden
* Hesperia Hotel - Helsinki Finland
* Rainbow Club - Oslo Norway
* Noimalman - Stockholm Sweden
* Borsen Club - Stockholm Sweden
* Sunswall - Sweden
* Grand Central Hotel - Javle Sweden
* Hotel Jonkoping -Sweden
* New Yaki Club - Gothenberg Sweden
* แอน แอน ครับ - โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทยชั่วคราว)
ช่วงปี 2518-2519(ทัวร์ยุโรปครั้งแรก 1975-1976)
* Tragarn Restaurant - Gothenberg Sweden
* Hesperia Hotel - Helsinki Finland
* Malibu Club Basle - Swiszerland
* New Yaki Club - Gothenberg Sweden
* Grinderwald - Switzerland
* Mascot Club Zurich - Switzerland
* Babalu Club Bern - Switzerland
* แอน แอน คลับ โรงแรมมณเฑียร สุรวงศ์ (กลับเมืองไทย 2519|1976)
* ประกาศยุบวงในเดือนเมษายน 2519 ขณะเล่นที่ แอน แอน คลับ
* หลังประกาศยุบวงยังได้กลับมาวงตัวไปแสดงที่ ไต้หวัน ช่วง 1 มิถุนายน - 4 กันยายน 2519 Majestic Club Majestic Hotel - Taipei Taiwan
* ตุลาคม 2519 กลับเมืองไทย เล่นส่งท้าย (ประมาณ 14 วัน) คืนละ 3 แห่ง ที่ แมนฮัตตัน คลับ สุขุมวิท, ทอปเปอร์คลับ ตึกนายเลิศ, เดอะ ฟอกซ์ ศูนยการค้าเพลินจิต
เพลงประกอบภาพยนตร์
* เริงรถไฟ-จากภาพยนตร์เรื่อง โทน (2512)
* ปิดเทอม-จากภาพยนตร์เรื่อง โทน (2512)
* ชื่อรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง โทน (2512)
* รักกันหนอ-จากภาพยนตร์เรื่อง รักกันหนอ (2513)
* เจ้าพระยา-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
* ลำนำรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
* เริงสายชล-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
* ล่องวารี-จากภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช (2514)
* เริงทะเล-จากภาพยนตร์เรื่อง ชื่นชีวาฮาวาย (2514)
* ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (2514)
* ไปตามดวง-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
* หนาวเนื้อ-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
* ผม-จากภาพยนตร์เรื่อง ดวง (2514)
* โลกของเรา-จากภาพยนตร์เรื่อง สะใภ้หัวนอก (2514)
* น้ำผึ้งพระจันทร์(ร้องโดยชรินทร์ นันทนาคร)-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
* ใจหนุ่มใจสาว-จากภาพยนตร์เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (2514)
* มันไหนล่ะ-จากภาพยนตร์เรื่อง สายชล (2514)
* จันทร์เพ็ญ-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
* ดีด สี ตี เป่า-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
* ความหวัง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
* หาดสีทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
* สายใยชีวิต-จากภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ (2514)
* ระเริงชล-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2514)
* จูบฟ้า ลาดิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
* มิสเตอร์สโลลี่-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล (2514)
* ข้าวเปลือก-จากภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
* ค่าของคน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
* ค่าของรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
* ค่าของเงิน-จากภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน (2514)
* รอรัก-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2514)
* หนึ่งในดวงใจ-จากภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย (2514)
* เดอะทีนเอจ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
* ทะเลไม่เคยหลับ-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
* ครองจักรวาล-จากภาพยนตร์เรื่อง สวนสน (2514)
* โลกมายา-จากภาพยนตร์เรื่อง สาวกอด (2515)
* โอ้รัก-จากภาพยนตร์เรื่อง โอ้รัก (2515)
* หัวใจเหิร-จากภาพยนตร์เรื่อง สองสิงห์สองแผ่นดิน (2515)
* ยอดดวงมาลย์-จากภาพยนตร์เรื่อง ภูกระดึง (2515)
* ไม่มีคำตอบจากสวรรค์-จากภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ (2516)
* ทอง-จากภาพยนตร์เรื่อง ทอง (2516)
* ข้าวนอกนา-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
* ชีวิตคนดำ-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
* เกลียดคนสวย-จากภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา (2518)
* ตัดเหลี่ยมเพชร-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
* แล้วเธอจะรู้-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
* ราตรีที่แสนเหงา-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
* The Great Friday(บรรเลง)-จากภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร (2518)
* ดับสุริยา-จากภาพยนตร์เรื่อง ดับสุริยา (2519)
* คมกุหลาบ-จากภาพยนตร์เรื่อง คมกุหลาบ (2519)
* ในช่วงปี 2517 บริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ ได้จัดสร้างภาพยนตร์เรื่องเป็นไปไม่ได้ โดยมีรงค์ วงษ์สวรรค์ เป็นผู้เขียนเรื่องและบทภาพยนตร์ มีเพลงประกอบที่สำคัญคือ เพลงเป็นไปไม่ได้ กังวลทะเล ผมเป็นโคบาลไทย และเพลงกุลา(ผลงานของสุรชัย จันทิมาธร) แต่งานสร้างประสบความล้มเหลว ไม่สามารถสร้างให้จบได้
เพลงที่มีชื่อเสียง
* เป็นไปไม่ได้
* เริงทะเล
* ชื่นรัก
* ทะเลไม่เคยหลับ
* โอ้รัก
* ไหนว่าจะจำ
* คอยน้อง
* หนาวเนื้อ
* หนึ่งในดวงใจ
* จูบฟ้า ลาดิน
* ชั่วนิจนิรันดร
* ขาดเธอ ขาดใจ
* ทัศนาจร
* ชาวดง
* นกขมิ้น
* ข้าวนอกนา
* เกลียดคนสวย
* ชีวิตคนดำ
* ผมไม่วุ่น
ฯลฯ
วันอังคาร, กรกฎาคม 28, 2552
ตำนาน ดิอิมพอสซิเบิ้ล
เขียนโดย prakan ที่ 18:25
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น