วันอังคาร, กรกฎาคม 28, 2552

The Legend Of The Impossibles

The Legend Of The Impossibles

ประวัติ

2509
ดิ อิมพอสซิเบิ้ลส์เริ่มก่อตั้งวงครั้งแรก ซึ่งใช้ชื่อวงว่า Holiday J3 และเปลี่ยนมาเป็น The Impossibles ในปี 2511 ซึ่งตอนนั้นมีสมาชิกทั้งหมด 5 คน คือ เศรษฐา ศิระฉายา (ร้องนำ) , วินัย พันธุรักษ์(กีตาร์), อนุสรณ์ พัฒนกุล(กลอง), สุเมธ แมนสรวง (ออร์แกน) และ พิชัย ทองเนียม (เบสส์)
2512-2515
- ปี 2512 ดิ อิมพอสซิเบิ้ลได้รับรางวัลชนะะเลิศถ้วยพระราชทานจากการประกวดวง ดนตรีสตริงคอมโบ้ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประเภทวงดนตรีอาชีพ เป็นครั้งแรก หลังการประกวด สุเมธ แมนสรวง ได้ลาออก และสิทธิพร อมรพันธุ์ได้เข้ามาร่วมวงในตำแหน่ง มือกีตาร์
- ปี 2513 ปราจีน ทรงเผ่าได้เข้าร่วมวง แและดิ อิมพอสซิเบิ้ล ได้เข้าประกวดวงดนตรีสตริงคอมโบ้อีกครั้ง ได้รับรางวัลชนะเลิศ เป็นปีที่ 2
- ปี 2514 การจัดประกวดงดไป 1 ปี เนื่องจากกความไม่แน่นอนทางสถานการณ์ทางการเมือง
- ปี 2515 การประกวดฯ จัดขึ้นอีกครั้ง และในครั้งนี้ ดิ อิมพอสซิเบิ้ลได้เข้าร่วมประกวดและคว้ารางวัลชนะเลิศเป็นปีที่ 3 โดย เศรษฐา ศิรระฉายา ร้องนำ, วินัย พันธุรักษ์ แซ็กโซโฟน/กีตาร์, สิทธิพร อมรพันธ์ กีตาร์, อนุสรณ์ พัฒนกุล กลอง, พิชัย ทองเนียม เบสส์ , ปราจีน ทรงเผ่า คีย์บอร์ด,ทรอมโบน และได้มีการดึงตัว ยงยุทธ มีแสง มาเข้าร่วมประกวดด้วยในตำแหน่งทรัมเป็ท
- ในช่วงปี 2512 - 2515 นี้ นอกจาก ดิ อิมพออสซิเบิ้ลได้ เข้าประกวดวงดนตรีสตริง คอมโบ้ ชิงถ้วยพระราชทานและได้รับรางวัลติดต่อกัน 3 ปีซ้อนแล้ว ยังมีผลงาน เพลงไทยประกอบในภาพยนตร์เรื่อง โทน และอีกหลายเรื่อง เช่น ดวง,หนึ่งนุช, จันทร์เพ็ญ,ระเริงชล,เจ้าลอย,ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน,สวนสน,ค่าของคน,ไอ้ริด เป็นต้น และได้ออกอัลบั้มชุด "เป็นไปไม่ได้" และได้เดินทางไปเปิดการแสดงในทุก เมืองใหญ่ทั่วเมืองไทย ในยุคนั้นถือว่า The Impossibles คือวงดนตรีวงแรกที่สร้าง ความรู้สึกเป็นสากลและทำให้วัยรุ่นสมัยนั้นหันมาฟังเพลงไทยในแนวสตริงคอมโบ้
- ปลายปี 2515 The Impossibles ได้เดินทางไปเล่นดนตรีที่ฮาวาย
2516
- ในระหว่างเล่นดนตรีที่ฮาวาย พิชัย ทองเนียม มือเบส ได้ลาออก และมีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามา คือ เรวัต พุทธินันท์ ในตำแหน่ง ร้องนำ และคีย์บอร์ด โดยที่เศรษฐา ศิระฉายา รับหน้าที่เล่นเบสแทน
- หลังจากหมดสัญญาที่ฮาวาย และกลับสู่ประเทศไทย ดิ อิมพอสซิเบิ้ล ได้มีการ เปลี่ยนแปลงสมาชิกในวงอีกครั้ง คือ สมชาย กฤษณะเศรณี เข้ามาเสริมในตำแหน่ง มือเบส และได้รับปรีดิ์เทพ มาลากุล ณ อยุธยา เข้ามาประจำในตำแหน่งกลอง ในขณะ ที่อนุสรณ์ พัฒนกุล ได้แยกตัวออกไป
2517 -2518
- ปลายปี 2517 The Impossibles เดินทางไปเล่นดนตรีที่ยุโรปเป็นครั้งแรก
- เดินทางกลับเมืองไทย สมชาย กฤษณะเศรณี ลาาออกจากวง และไพฑูรย์ วาทะยากร มือเบสคนใหม่ ได้เข้าร่วมวง
- The Impossibles เดินทางไปเล่นดนตรีที่ยุโรปเป็นครั้งที่สอง และออกอัลบั้มเพลงสากลชื่อ Hot Pepper เป็นครั้งแรกในต่างแดน
2519
เดินทางกลับเมืองไทย ต่อจากนั้นได้เดินทางไปเล่นดนตรีที่ไต้หวันเป็นการเล่นดนตรี ครั้งสุดท้ายในต่างแดน เพราะในช่วงเวลานั้นวงดิ อิมพอสซิเบิ้ล เริ่มถึงจุดอิ่มตัว
2520
The Impossibles ตัดสินใจยุบวง
2535
สมาชิกวง ดิ อิมพอสซิเบิ้ลในยุค 2512-2515 ประกอบด้วย เศรษฐา, วินัย, พิชัย อนุสรณ์, สิทธิพร และปราจีน กลับมารวมตัวกันอีกครั้งเพื่อออกอัลบั้ม "กลับมาแล้ว"
2544
พวกเขาได้กลับมาขึ้นเวทีอีกครั้งเพื่อให้ชื่อของวง "The Impossibles" เป็นความทรงจำและเป็นตำนานทางดนตรีที่เล่าขานสืบไป

ผลงาน

ดิ อิมฯ มีงานเพลงที่ได้บันทึกเสียงไว้ไม่มากนัก ในช่วงปี 2511 ถึง 2515 เทปคาสเสทท์ยังไม่มี ฉะนั้นผลงานส่วนใหญ่จึงออกมาในรูปของแผ่นเสียงทั้งแบบลองเพลย์ สปีด 33 และ แผ่นเล็ก สปีด 45 บางเพลงซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ ผู้สร้างมิได้นำมารวบรวมเป็นแผ่น ก็ตกหล่นหายไป เพลงทั้งหมดที่ทำการบันทึกไว้ (ทั้งร้อง และบรรเลง) มีทั้งหมด 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
อัลบั้มลองเพลย์ สปีด 33
(ไม่ใช่เพลงประกอบภาพยนตร์) มี 2 อัลบั้ม ได้แก่
1.1 ชุด เป็นไปไม่ได้ โดย พยงค์ มุกดา เป็นผู้จัดทำ บันทึกเสียงในช่วงเดือน เมษายน 2515 ก่อนเดินทางไปฮาวาย มีทั้งหมด 11 เพลง คือ
- เป็นไปไม่ได้
- ชาวดง
- ไหนว่าจะจำ
- คอยน้อง
- ขาดเธอขาดใจ
- สกุณา
- วนาสวรรค์
- ชั่วนิจนิรันดร
- ทะเลเปี่ยมรัก
- เพลงรักทะเลใต้
- นกขมิ้น
(ห้องบันทึกเสียง กมล สุโกศล)
1.2 ชุด หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม โดย ประดิษฐ์ อุดตะมัง เป็นผู้จัดทำ บันทึกเสียงช่วงกลับมา จากฮาวายแล้ว ในเดือนพฤศจิกายน 2516 มีทั้งหมด 12 เพลง คือ
- ห้วงใจรัก
- บุหงาลาก่อน
- หากรักเป็นเช่นทะเล
- สู้อ้อมอกดิน
- ระเริงโซล
- พี่เองก็เท่านี้
- หมื่นไมล์แค่ใจเอื้อม
- จูบจันทร์
- อย่ากวนใจทะเล
- คำสุดท้าย
- สิชล
- ว้าเหว่
(ห้องบันทึกเสียง กมล สุโกศล)
แผ่นเล็ก สปีด 45
อัลบั้มที่จัดทำโดย ครูวิมล จงวิไล มี 4 เพลง ได้แก่
- ทัศนาจร
- หาดบ้านเพ
- เรือเพลง
- ลาวดวงเดือน
(ห้องบันทึกเสียง คิงส์ซาวน์ด ธันวาคม 2516)
อัลบั้มที่จัดทำโดย ปรีชาพล บุนนาค
ขับร้องโดย สุดา ชื่นบาน และฉันทนา กิตติยพันธ์
คำร้อง และทำนอง โดย ร้อยแก้ว รักไทย ประสิทธ์ พยอมยงค์
รวม 12 เพลง ในปี 2517
เพลงประกอบภาพยนตร์
มีทั้งหมดประมาณ 40 กว่าเพลง ตามรายละเอียดเท่าที่บันทึกไว้
1. เริงรถไฟ (รัก รักพงษ์) 2512 ภาพยนตร์ เรื่อง โทน
2. ปิดเทอม (ปราจีน ทรงเผ่า) 2512 ภาพยนตร์ เรื่อง โทน
3. ชื่นรัก (รัก รักพงษ์, ปราจีน ทรงเผ่า) 2513 ภาพยนตร์ เรื่อง โทน
4. รักกันหนอ (สมโภชน์ ล้ำพงษ์) 2513 ภาพยนตร์ เรื่อง รักกันหนอ
5. เจ้าพระยา (สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์ เรื่อง หนึ่งนุช
6. ลำนำรัก (สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช
7. เริงสายชล (สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช
8. ล่องวารี (สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง หนึ่งนุช
9. เริงทะเล (ประดิษฐ์ อุดตะมัง) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง ชื่นชีวาฮาวาย
10.ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน (สุรพล โทณวณิก) 2514
ภาพยนตร์เรื่อง ไม่มีวันที่เราจะพรากจากกัน
11.ไปตามดวง (สุรพล โทณวณิก) 2514 ภาพยนตร์ เรื่อง ดวง
12. หนาวเนื้อ (สุรพล โทณวณิก) 2514 ภาพยนตร์ เรื่อง ดวง
13. ผม (ประสิทธิ์ พยอมยงค์ PIAG) ภาพยนตร์ เรื่อง ดวง
14. โลกของเรา (สมโภชน์ ล้ำพงษ์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง สะใภ้หัวนอก
15. น้ำผึ้งพระจันทร์ (เนรัญชลา) 2514 ภาพยนตร์ เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์ (ชรินทร์ ขับร้อง)
16. ใจหนุ่ม ใจสาว (เนรัญชลา) 2515 ภาพยนตร์ เรื่อง น้ำผึ้งพระจันทร์
17. มันไหมล่ะ (สุรพล โทณวณิก THEM CHANGE) 2514 ภาพยนตร์ เรื่อง สายชล
18. จันทร์เพ็ญ (ทวีสุข ทองถาวร ปราจีณ ทรงเผ่า) 2514 ภาพยนตร์ เรื่อง จันทร์เพ็ญ
19. ดี,สี,ตี,เป่า (สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ
20. ความหวัง (สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ
21. หาดสีทอง (สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ
22. สายใยชีวิต (สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง จันทร์เพ็ญ
23. ระเริงชล (ประสิทธิ์ พยอมยงค์ , สุรพล โทณวณิก) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
24. จูบฟ้า ลาดิน (ประสิทธิ์ พยอมยงค์, สุรพล โทณวณิก) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
25. มิสเตอร์ สโลลี่ (สุรพล โทณวณิก / สากล) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
26. ข้าวเปลือก (ประสิทธิ์ พยอมยงค์, สุรพล โทณวณิก) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง ระเริงชล
(นงลักษณ์ โรจนพรรณ ขับร้อง)
27. ค่าของคน (สุรพล โทณะวณิก) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน
28. ค่าของรัก (สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน
29. ค่าของเงิน (สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง ค่าของคน
30. รอรัก (สุรพล โทณวณิก) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย
31. หนึ่งในดวงใจ (สุรพล โทณวณิก / สากล) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง เจ้าลอย
32. เดอะ ทีนเอจ (ชาลี อินทรวิจิตร / สากล) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง สวนสน
33. ทะเลไม่เคยหลับ (ชาลี อินทรวิจิตร, สง่า อารัมภีร์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง สวนสน
34. ครองจักรวาล (ประสิทธิ์ พยอมยงค์ , อาจินต์ ปัญจพรรค์) 2514 ภาพยนตร์เรื่อง สวนสน
35. โลกมายา (ไพบูลย์ บุตรขัน) 2515 ภาพยนตร์เรื่อง ลานสาวกอด
36. โอ้รัก (ประสิทธิ์ พยอมยงค์, สุรพล โทณวณิก) 2515 ภาพยนตร์ เรื่อง โอ้รัก
37. หัวใจเหิร (ประสิทธิ์ พยอมยงค์, สุรพล โทณวณิก) 2515 ภาพยนตร์เรื่อง สองสิงห์ สองแผ่นดิน
38. ยอดดวงมาน (สง่า อารัมภีร์ / สากล) 2515 ภาพยนตร์เรื่อง ภูกระดึง
(บันทึกวันที่ 7 สิงหาคม 2515 เป็นเพลงสุดท้ายก่อนเดินทางไปฮาวาย)
39. ไม่มีคำตอบจากสวรรค์ 2516 ภาพยนตร์ ไม่มีคำตอบจากสวรรค์
(บันทึกเป็นเพลงแรกหลังจากกลับจากฮาวาย)
40. ทอง (ประสิทธิ์ พยอมยงค์, สุรพล โทณวณิก) 2516 ภาพยนตร์เรื่อง ทอง
41. ข้าวนอกนา (ประสิทธิ์ พยอมยงค์, ร้อยแก้ว รักไทย) 2518 ภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา
42. ชีวิตคนดำ (ประสิทธิ์ พยอมยงค์, ร้อยแก้ว รักไทย) 2518 ภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา
43. เกลียดคนสวย (ประสิทธิ์ พยอมยงค์, ร้อยแก้ว รักไทย) 2518 ภาพยนตร์เรื่อง ข้าวนอกนา
(ทั้ง 3 เพลง 41,42 และ 43 ขับร้องโดย ฉันทนา กิตติยพันธ์)
44. ตัดเหลี่ยมเพชร (สุรพล โทณวณิก) 2518 ภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร
45. แล้วเธอจะรู้ (สุรพล โทณวณิก) 2518 ภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร
46. ราตรีที่แสนเหงา (สุรพล โทณวณิก) 2518 ภาพยนตร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร
47. THE GREAT FRIDAY (บรรเลง) 2518 ภาพยนร์เรื่อง ตัดเหลี่ยมเพชร
48. ดับสุริยา 2519 ภาพยนตร์เรื่อง ดับสุริยา
49. คมกุหลาบ (ชาลี อินทรวิจิตร, วิชัย อึ้งอัมพร) 2519 ภาพยนตร์เรื่อง คมกุหลาบ
* (ข้อมูลที่ขาดหายไป อาจค้นคว้าได้จากหอภาพยนตร์แห่งชาติ) *
ปี 2517 บริษัทศรีกรุงภาพยนตร์ได้จัดสร้างภาพยนตร์เรื่อง "เป็นไป ไม่ได้" โดยมี
"รงค์ วงศ์สวรรค์" เป็นผู้เขียนเรื่อง และบทภาพยนตร์ มีเพลงประกอบที่ สำคัญ คือเพลง เป็นไปไม่ได้, กังวลทะเล, ผมเป็นโคบาลไทย และเพลง กุลา ผลงานของ สุรชัย จันทิมาธร แต่งานสร้างสร้างประสบความล้มเหลว ไม่สามารถสร้างให้จบได้ เพลงต่าง ๆ ที่บันทึกไว้จึงสูญหายไปด้วย
ปี 2535 ดิอิมฯ ได้กลับมารวมกันโดยเฉพาะสมาชิกของวง 6 คน ในยุค 2512 - 2515 ประกอบด้วย เศรษฐา, วินัย, พิชัย, อนุสรณ์, สิทธิพร และปราจีน โดยได้นำเพลง เก่าที่เคยได้รับความนิยม กลับมาบันทึกใหม่ ทั้งหมด 2 ชุด 24 เพลง ทั้งนี้เป็นเพลงใหม่ที่ ไม่เคยบันทึกเสียงมาก่อน 3 เพลง คือ เพลง กลับมาแล้ว, ศึกษาวิชารัก และเพลงเขาใหญ่ รวมกับอีก 2 เพลง ที่เคยมีผู้บันทึกมาก่อน คือ เพลง ใจประสานใจ กับเพลง แด่น้อง (แต่ง ให้เด็กพิการ) ทั้ง 2 ชุด นิธิทัศน์ โปรโมชั่น เป็นผู้จัดทำ แม้ว่าจะไม่ได้รับความสำเร็จมาก มายอย่างที่หวัง แต่อย่างน้อย ก็ทำให้เพื่อนเก่าบางคน มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม สมดังเจตนารมย์ที่ทุกคนตั้งใจไว้

ปราจีน ทรงเผ่า ผู้บันทึก 11 ก.ค. 2541

0 ความคิดเห็น: